จำนองกับธนาคาร หรือ จำนองกับนายทุน ดีกว่ากัน?
จำนอง เป็นการกู้เงิน หรือขอสินเชื่อโดยมีหลักทรัพย์ประกัน จากธนาคารหรือสถาบันการเงิน หรือกู้เงินนอกระบบ กู้เงินจากเอกชน หรือนายทุน ก็ได้ ซึ่งการกู้เงินจากทั้งสองแบบนี้ต้องทำสัญญาที่ สำนักงานที่ดิน และมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ขึ้นกับข้อตกลงของทั้ง 2 ฝ่าย
เรามาดูกันดีกว่าว่าความแตกต่างของการจำนองกับสถาบันการเงิน และจำนองกับนายทุนนั้น ต่างกันอย่างไร และมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง
กรณีจำนองกับสถาบันการเงิน มีขั้นตอนที่แต่ละสถาบันการเงินกำหนดไว้ ตั้งแต่เตรียมเอกสาร ยื่นขอสินเชื่อ รออนุมัติ นัดทำสัญญา ซึ่งขั้นตอนต่างๆ ใช้เวลานานพอสมควร อาจเป็นเดือน หรือหลายเดือน หรือเมื่อรอแล้วคุณสมบัติอาจไม่เพียงพอแก่การอนุมัติสินเชื่อก็เป็นไปได้ ส่วนการจำนองกับนายทุนนั้น แค่แจ้งว่าหลักทรัพย์เป็นอะไร อยู่ที่ไหน ใช้เงินเท่าไร หากมีความเป็นไปได้ ก็นัดกันดูหลักทรัพย์ แล้วไปทำการจดจำนองที่ สำนักงานที่ดินได้ทันที ซึ่งดำเนินการเสร็จภายในวันเดียวได้ ซึ่งนี่เป็นจุดแข็งของ การจำนองกับนายทุน
การจำนองกับสถาบันการเงิน ก็ต้องแข่งขันกันเองในการปล่อยสินเชื่อโดยมีเรื่องอัตราดอกเบี้ยเป็นข้อจูงใจ ดังนั้นแน่นอนอัตราดอกเบี้ยสถาบันการเงินต่ำกว่าจำนองกับนายทุน
วงเงินที่ได้จากการจำนองกับบุคคล หรือนายทุน จะได้ประมาณ 30% หรือขึ้นกับความไว้เนื้อเชื่อใจ และการพิจารณาของนายทุน ส่วนการให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน ก็แล้วแต่นโยบาย หรืออยู่ในช่วงเวลาที่แต่ละสถาบันการเงินกำหนด และทำการตลาดของแต่ละสถาบันการเงิน ณ.ช่วงเวลานั้น
การจำนอง หากผู้กู้ไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ต้องบังคับจำนองโดยการร้องต่อศาลให้สั่งยึดทรัพย์ไปขายทอดตลาด แล้วนำเงินที่ขายได้มาคืนหนี้ที่จำนอง ซึ่งต้องใช้เวลา และขั้นตอนตามกฎหมาย ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ทำให้นายทุนไม่นิยมทำกัน เพราะกว่าจะได้เงินคืนกลับมา ต้องใช้เวลานานนั่นเอง
โดยสรุปก็คือ จำนองกับนายทุนมีโอกาสผ่านง่ายกว่า ได้รับเงินไวกว่า จำนองผ่านสถาบันการเงิน แต่อาจจะได้วงเงินกู้ที่ไม่สูงมาก โดยต้องทำการต่อรองกันเอง ซึ่งหากเป็นสถาบันการเงินแล้วต้องทำเป็นขั้นตอน ยืดหยุ่นได้น้อย นั่นเอง