ขั้นตอนการขายฝากที่ดิน

การขายฝากการขายฝากสามารถทำได้ โฉนดไม่ติดภาระ ส่วนโฉนดติดภาระธนาคาร โฉนดติดภาระบุคคล สามารถทำได้ โดยพิจารณา จากมลูค่าทรัพย์

ขั้นตอนการขายฝาก

  • ไปดูที่ดิน หรือหลักทรัพย์ของลูกค้าที่ต้องการขายฝาก
  • เมื่อตกลงราคาที่ต้องการเรียบร้อยแล้ว ไปทำสัญญาที่กรมที่ดิน
  • เมื่อทำสัญญาที่กรมที่ดินเรียบร้อยแล้ว ลูกค้าจะ ได้รับเงินสดทันที
  • ดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปีตามกฎหมาย หรือแล้วแต่ตกลง
  • ลูกหนี้ต้อง จ่ายดอกเบี้ยทุกเดือนจนครบกำหนดไถ่ถอน
  • พอครบสัญญา สามารถไปไถ่ถอนได้ที่กรมที่ดิน

เอกสารที่ต้องใช้

  • โฉนดตัวจริง
  • บัตรประชาชนตัวจริง
  • ทะเบียนบ้านตัวจริง (ถ้ามีการเปลี่ยนบ้านเลขที่ต้องเตรียมใบเปลี่ยนมาด้วย)
  • ใบทะเบียนสมรส (หรือกรณีหย่า เตรียมใบหย่าและใบแนบท้ายใบหย่าให้ด้วย)
  • ถ้ามีการเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนสกุล ให้เตรียมใบเปลี่ยนมาด้วย

ค่าธรรมเนียมที่กรมที่ดิน

  • ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ณ กรมที่ดิน
  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (หัก ณ ที่จ่าย)
  • ค่าธรรมเนียมการทำนิติกรรม (ค่าโอน) : 2% จากราคาประเมิน หรือราคาขาย แล้วแต่อย่างไหนสูงกว่า
  • ค่าธรรมเนียมจดจำนอง : ร้อยละ 1
  • ค่าอากรแสตมป์
  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ

ตัวอย่างสัญญาขายฝาก

การขายฝาก หมายถึง สัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่า ผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา หรือมิฉะนั้นในการกำหนดเวลาตามกฎหมาย คือ

ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน ที่ดิน ต้องไถ่ภายใน 10 ปี นับแต่เวลาที่มีการซื้อขาย แต่ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ ต้องไถ่ภายใน 3 ปี นับแต่ซื้อขาย หากเกินกำหนดเวลานี้แล้วกฎหมายถือว่า กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายฝากกัน ตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันที กรณีที่ทำสัญญากำหนดเวลาไถ่นานเกินกว่า 10 ปี 3 ปี ก็ต้องลดลงมาเป็น 10 ปี 3 ปี หรือถ้าทำสัญญากำหนดเวลาไถ่ต่ำกว่า 10 ปี 3 ปี ก็จะขยายเวลามิได้

หลักสำคัญของการขายฝาก อยู่ที่ต้องมีการส่งมอบการครอบครองโดยตรงหรือปริยายให้แก่ผู้รับซื้อฝากพร้อมกับกรรมสิทธิ์ แต่เมื่อครบกำหนดเวลาแล้ว ผู้ขายฝากมีสิทธิที่จะไถ่ถอนได้

ข้อแตกต่างระหว่าง “การขายฝาก” กับ “การจำนอง” คือ การจำนองนั้นผู้จำนองนำทรัพย์สินของตน เช่น บ้าน – ที่ดินไปค้ำประกันหนี้เงินกู้ หากผิดนัดไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ก็จะฟ้องร้องและบังคับคดียึดทรัพย์ที่นำมาค้ำประกันไว้ แต่การขายฝากเป็นการนำทรัพย์สินไปขายให้แก่คนอื่นภายใต้เงื่อนไขที่ว่า เมื่อถึงกำหนดแล้วผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ถอนได้ หากเกินกำหนดก็เสียกรรมสิทธิ์ทันที

นโยบายในการขายฝากที่ดินกับเรา

เรายึดหลัก “กู้ง่าย ได้เงินไว ซื่อสัตย์ มีคุณธรรม” กับลูกค้าทุกๆ ราย เราเข้าใจว่าทุกท่านที่เข้ามาปรึกษาเรามีเรื่องทุกข์ใจ ต้องการหาที่พึ่ง เรายินดีช่วยเหลือทุกท่านอย่างเต็มที่ ด้วยนโยบายดังนี้

  • เราคิดดอกเบี้ยจำนอง-ขายฝาก เริ่มต้นเพียง 1% ต่อเดือน
  • หลังจากดูบ้าน ที่ดิน เราสามารถพิจารณาออกเงินให้ได้ภายใน 1 วัน ทำสัญญา ณ กรมที่ดินเท่านั้น
  • เราไม่มีนโยบายที่จะฟ้องยึดบ้านลูกค้า ถ้าลูกค้ารายใดมีความประสงค์ต้องการที่จะเข้าสู่ระบบสถาบันทางการเงินโดยผ่อนเป็นรายเดือน ลดต้น-ลดดอก ผ่อนได้ระยะยาว 20 ปี ทางเราจะดำเนินการกู้เข้าสู่สถาบันทางการเงินให้ โดยมืออาชีพด้านสถาบันทางการเงินให้กับลูกค้า
  • เราทำงานอย่างตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์ มีคุณธรรมต่อลูกค้าทุกราย ไม่เอารัดเอาเปรียบอย่างแน่นอน
  • ขายฝากที่ดินกับเรา ทำได้ง่ายๆ ได้เงินง่าย ไม่ยุ่งยาก เอกสารพร้อม เราจ่ายเงินทันที
  • เราติดต่อกับสถาบันการเงินต่างๆ มามากมาย มีเครดิตที่น่าเชื่อถือ เรารับปรึกษาสินเชื่อสถาบันการเงิน เกี่ยวกับสินเชื่อบ้านและที่ดิน และสินเชื่อเพื่อธุรกิจ SME ให้อีกด้วย
  • ลูกค้ามีเงินก้อน อยากปิดยอดเมื่อไหร่ก็ได้ เราไม่มีการยื้อ เพื่อถ่วงเวลาให้ทรัพย์หลุดอย่างแน่นอน
  • เรายินดีให้คำปรึกษาด้านการเงิน และการลงทุน ในกรณีที่ท่านยังลังเล ไม่แน่ใจ ฟรี!! ไม่มีค่าใช้จ่าย

สัญญาของเราเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน ทำงานเป็นขั้นตอน ตรวจสอบได้ โปร่งใส ทุกขั้นตอน

สิ่งที่น่าสนใจ

จำนองกับธนาคาร หรือ จำนองกับนายทุน ดีกว่ากัน?

จำนองกับธนาคาร หรือ จำนองกับนายทุน ดีกว่ากัน? จำนอง เป็นการกู้เงิน หรือขอสินเชื่อโดยมีหลักทรัพย์ประกัน จากธนาคารหรือสถาบันการเงิน หรือกู้เงินนอกระบบ กู้เงินจากเอกชน หรือนายทุน ก็ได้ ซึ่งการกู้เงินจากทั้งสองแบบนี้ต้องทำสัญญาที่ สำนักงานที่ดิน และมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ขึ้นกับข้อตกลงของทั้ง 2 ฝ่าย เรามาดูกันดีกว่าว่าความแตกต่างของการจำนองกับสถาบันการเงิน และจำนองกับนายทุนนั้น ต่างกันอย่างไร และมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง     กรณีจำนองกับสถาบันการเงิน มีขั้นตอนที่แต่ละสถาบันการเงินกำหนดไว้

จำนอง กับ ขายฝาก ต่างกันอย่างไร

หลายท่านที่กำลังมีปัญหาเรื่องเงิน อาจจะกำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับการนำบ้าน ที่ดินไปออกเงินกู้ และคงเคยได้ยินคำว่า จำนอง ขายฝาก กันมาบ้างแล้ว แต่เชื่อได้เลยว่า บางท่านอาจจะยังแยกไม่ออกว่า จำนองกับขายฝากนั้น ต่างกันอย่างไร จำนอง คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่า ผู้จำนองเอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจำนองเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนองส่วน “ขายฝาก” คือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้ภายในเวลาที่กำหนดข้อแตกต่างที่สำคัญของสัญญาจำนองกับสัญญาขายฝาก    จำนอง กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่จำนองไม่โอนไปยังผู้รับจำนอง จึงไม่ต้องมีการส่งมอบทรัพย์ที่จำนองให้ผู้รับจำนอง แต่ “ขายฝาก”

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการจำนำ

การจำนำ คือ การที่บุคคลคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้จำนำ” นำสังหาริมทรัพย์ไปส่งมอบให้อยู่ในความครอบครองของบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้รับจำนำ” เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ที่ผู้จำนำเป็นหนี้ผู้รับจำนำ (ป.พ.พ. มาตรา 747) ทรัพย์สินที่จะใช้การจำนำได้ ทรัพย์สินที่จะใช้จำนำได้แก่ “สังหาริมทรัพย์” ทุกชนิด “สังหาริมทรัพย์” ได้แก่ ทรัพย์สินทั้งหลายซึ่งอาจเคลื่อนจากที่หนึ่งไปแห่งอื่นได้เช่น รถยนต์, นาฬิกา , แหวน , สร้อย ฯลฯ สิทธิของผู้รับจำนำ

การโอนหนี้ดีจริงหรือ?

คุณกำลังประสบปัญหา มีภาระหนี้เพิ่มสูงขึ้น ในแต่ละวันหรือเปล่า ไม่ว่าจะเป็นหนี้ บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อบุคคล ธนาคาร หรือสถาบันการเงินต่างๆ ดอกเบี้ยทบสูงขึ้นจนจ่ายไม่ไหวแล้วใช่หรือไม่ ดอกเบี้ยทบต้นทบดอกจนสูงกว่าเงินต้นจริงๆ แล้วใช่ไหมการโอนหนี้ หรือที่เรียกกันว่าการรีไฟแนนซ์คือทางออกของคุณแน่นอนค่ะ การโอนหนี้ดียังไง? ข้อควรระวังก่อนการทำการโอนหนี้ เมื่อคิดว่าภาระหนี้ที่มีตอนนี้คุณแบกรับไว้ไม่ไหว ควรรีบตื่นตัวแล้วหาช่องทางเพื่อปรับโครงสร้างหนี้โดยเร็ว ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นดินพอกหางหมู ไม่สามารถจัดการกับยอดหนี้ได้ ทำให้ประวัติทางการเงินของท่านเสียหายได้ด้วย เพราะฉะนั้นการโอนหนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทาง ที่อาจจะช่วยให้คุณแก้ปัญหาได้ ทำให้บางเบาลงได้ หากสนใจทำการโอนหนี้