จำนอง กับ ขายฝาก ต่างกันอย่างไร

หลายท่านที่กำลังมีปัญหาเรื่องเงิน อาจจะกำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับการนำบ้าน ที่ดินไปออกเงินกู้ และคงเคยได้ยินคำว่า จำนอง ขายฝาก กันมาบ้างแล้ว แต่เชื่อได้เลยว่า บางท่านอาจจะยังแยกไม่ออกว่า จำนองกับขายฝากนั้น ต่างกันอย่างไร

จำนอง คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่า ผู้จำนองเอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจำนองเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง
ส่วน “ขายฝาก” คือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้ภายในเวลาที่กำหนด
ข้อแตกต่างที่สำคัญของสัญญาจำนองกับสัญญาขายฝาก
    จำนอง กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่จำนองไม่โอนไปยังผู้รับจำนอง จึงไม่ต้องมีการส่งมอบทรัพย์ที่จำนองให้ผู้รับจำนอง แต่ “ขายฝาก” กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ขายฝากโอนไปยังผู้รับซื้อฝาก จึงต้องมีการส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้รับซื้อฝาก
    จำนอง หากไม่ชำระหนี้ ผู้รับจำนองจะฟ้องบังคับจำนอง แล้วให้กองบังคับคดีประมูลขาย ได้เงินมาชำระหนี้ แต่ขายฝาก ผู้ขายฝากต้องมาไถ่ภายในกำหนดเวลาใน สัญญา หากไม่มีเงินมาไถ่ภายในกำหนดเวลา กฎหมายกำหนดว่าสามารถขยายเวลาขายฝากได้ กี่ครั้งก็ได้ ครั้งละนานเท่าใดก็ได้ แต่รวมกันต้องไม่เกิน 10 ปี
    การจดทะเบียนจำนองเสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 1 จากวงเงินจำนอง อย่างสูงไม่เกิน 200, 000 บาท, การจดทะเบียนขายฝากเสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 2 จากราคาประเมินทุนทรัพย์ และเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ดังนั้นหากท่านใดที่ต้องการเงินด่วน กู้เงิน ควรที่จะศึกษาข้อมูลต่างๆ ให้ถี่ถ้วน เพื่อที่จะได้ไม่เป็นช่องทางให้มิจฉาชีพเข้ามาหลอกลวงท่านได้ และหากท่านกำลังมองหาแหล่งเงินกู้ รับจำนอง ขายฝากที่ดิน เชิญมาปรึกษากับเราได้ เรายินดีให้คำแนะนำท่าน ทุกขั้นตอน ปลอดภัย ถูกต้อง ได้เงินไวแน่นอน

สิ่งที่น่าสนใจ

จำนองกับธนาคาร หรือ จำนองกับนายทุน ดีกว่ากัน?

จำนองกับธนาคาร หรือ จำนองกับนายทุน ดีกว่ากัน? จำนอง เป็นการกู้เงิน หรือขอสินเชื่อโดยมีหลักทรัพย์ประกัน จากธนาคารหรือสถาบันการเงิน หรือกู้เงินนอกระบบ กู้เงินจากเอกชน หรือนายทุน ก็ได้ ซึ่งการกู้เงินจากทั้งสองแบบนี้ต้องทำสัญญาที่ สำนักงานที่ดิน และมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ขึ้นกับข้อตกลงของทั้ง 2 ฝ่าย เรามาดูกันดีกว่าว่าความแตกต่างของการจำนองกับสถาบันการเงิน และจำนองกับนายทุนนั้น ต่างกันอย่างไร และมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง     กรณีจำนองกับสถาบันการเงิน มีขั้นตอนที่แต่ละสถาบันการเงินกำหนดไว้

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการจำนำ

การจำนำ คือ การที่บุคคลคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้จำนำ” นำสังหาริมทรัพย์ไปส่งมอบให้อยู่ในความครอบครองของบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้รับจำนำ” เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ที่ผู้จำนำเป็นหนี้ผู้รับจำนำ (ป.พ.พ. มาตรา 747) ทรัพย์สินที่จะใช้การจำนำได้ ทรัพย์สินที่จะใช้จำนำได้แก่ “สังหาริมทรัพย์” ทุกชนิด “สังหาริมทรัพย์” ได้แก่ ทรัพย์สินทั้งหลายซึ่งอาจเคลื่อนจากที่หนึ่งไปแห่งอื่นได้เช่น รถยนต์, นาฬิกา , แหวน , สร้อย ฯลฯ สิทธิของผู้รับจำนำ

ขั้นตอนการขายฝากที่ดิน

การขายฝากการขายฝากสามารถทำได้ โฉนดไม่ติดภาระ ส่วนโฉนดติดภาระธนาคาร โฉนดติดภาระบุคคล สามารถทำได้ โดยพิจารณา จากมลูค่าทรัพย์ ขั้นตอนการขายฝาก ไปดูที่ดิน หรือหลักทรัพย์ของลูกค้าที่ต้องการขายฝาก เมื่อตกลงราคาที่ต้องการเรียบร้อยแล้ว ไปทำสัญญาที่กรมที่ดิน เมื่อทำสัญญาที่กรมที่ดินเรียบร้อยแล้ว ลูกค้าจะ ได้รับเงินสดทันที ดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปีตามกฎหมาย หรือแล้วแต่ตกลง ลูกหนี้ต้อง จ่ายดอกเบี้ยทุกเดือนจนครบกำหนดไถ่ถอน พอครบสัญญา สามารถไปไถ่ถอนได้ที่กรมที่ดิน เอกสารที่ต้องใช้ โฉนดตัวจริง

การโอนหนี้ดีจริงหรือ?

คุณกำลังประสบปัญหา มีภาระหนี้เพิ่มสูงขึ้น ในแต่ละวันหรือเปล่า ไม่ว่าจะเป็นหนี้ บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อบุคคล ธนาคาร หรือสถาบันการเงินต่างๆ ดอกเบี้ยทบสูงขึ้นจนจ่ายไม่ไหวแล้วใช่หรือไม่ ดอกเบี้ยทบต้นทบดอกจนสูงกว่าเงินต้นจริงๆ แล้วใช่ไหมการโอนหนี้ หรือที่เรียกกันว่าการรีไฟแนนซ์คือทางออกของคุณแน่นอนค่ะ การโอนหนี้ดียังไง? ข้อควรระวังก่อนการทำการโอนหนี้ เมื่อคิดว่าภาระหนี้ที่มีตอนนี้คุณแบกรับไว้ไม่ไหว ควรรีบตื่นตัวแล้วหาช่องทางเพื่อปรับโครงสร้างหนี้โดยเร็ว ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นดินพอกหางหมู ไม่สามารถจัดการกับยอดหนี้ได้ ทำให้ประวัติทางการเงินของท่านเสียหายได้ด้วย เพราะฉะนั้นการโอนหนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทาง ที่อาจจะช่วยให้คุณแก้ปัญหาได้ ทำให้บางเบาลงได้ หากสนใจทำการโอนหนี้