ข้อควรรู้เกี่ยวกับการจำนำ

การจำนำ คือ การที่บุคคลคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้จำนำ” นำสังหาริมทรัพย์ไปส่งมอบให้อยู่ในความครอบครองของบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้รับจำนำ” เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ที่ผู้จำนำเป็นหนี้ผู้รับจำนำ (ป.พ.พ. มาตรา 747)

ทรัพย์สินที่จะใช้การจำนำได้

ทรัพย์สินที่จะใช้จำนำได้แก่ “สังหาริมทรัพย์” ทุกชนิด “สังหาริมทรัพย์” ได้แก่ ทรัพย์สินทั้งหลายซึ่งอาจเคลื่อนจากที่หนึ่งไปแห่งอื่นได้เช่น รถยนต์, นาฬิกา , แหวน , สร้อย ฯลฯ

สิทธิของผู้รับจำนำ

ผู้รับจำนำมีสิทธิยึดของที่จำนำไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้คืนแล้วจนครบถ้วน (ป.พ.พ. มาตรา 758)

สิทธิการจำนำมีขอบเขตเพียงใด

การจำนำย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้ดังต่อไปนี้คือ

  1. ต้นเงิน
  2. ดอกเบี้ย
  3. ค่าเสียหายในการไม่ชำระหนี้
  4. ค่าธรรมเนียมในการบังคับจำนำ
  5. ค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาทรัพย์สินที่จำนำ
  6. ค่าทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากความชำรุดบกพร่องของทรัพย์ที่จำนำ ซึ่งผู้รับจำนำมองไม่เห็นในวันรับจำนำนั้น

เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว หากลูกหนี้ (ผู้จำนำ) ผิดนัดไม่ยอมชำระหนี้ ผู้รับจำนำต้องบังคับจำนำทรัพย์ที่จำนำนั้น ผู้รับจำนองจะยึดถือเอาทรัพย์จำนำหลุดเป็นของตนเองโดยไม่มีการบังคับจำนำไม่ได้

การบังคับจำนำ

มีวิธีการดังต่อไปนี้คือ

  1. ผู้รับจำนำต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังลูกหนี้ก่อนว่า ให้ลูกหนี้จัดการชำระหนี้รวมทั้งดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายต่างๆ ดังได้กล่าวมาแล้วภายในเวลาอันสมควรซึ่งได้กำหนดไว้ในหนังสือบอกกล่าวดังกล่าว
  2. ถ้าลูกหนี้ละเลยไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาตามคำบอกกล่าว ผู้รับจำนำมีสิทธินำเอาทรัพย์สินที่จำนำออกขายทอดตลาดได้
  3. ผู้รับจำนำต้องมีหนังสือบอกกล่าวให้ผู้จำนำทราบถึงวันที่จะขายทอดตลาดและสถานที่ที่จะทอดตลาด

ข้อยกเว้น

แต่ถ้าลูกหนี้ค้างชำระเกินกว่าเวลาที่กำหนด 1 เดือน และไม่สามารถจะบอกกล่าว ก่อนได้ผู้รับจำนำไม่ต้องบอกกล่าวให้ลูกหนี้ทราบก่อนแต่อย่างใด ผู้รับจำนำมีอำนาจนำทรัพย์สินออกขายทอดตลาดได้ทันที (ป.พ.พ. มาตรา 765)

ข้อตกลงกันไว้ล่วงหน้าว่าถ้าลูกหนี้ผิดนัดแล้วให้ทรัพย์ดังกล่าวตกเป็นของผู้รับจำนำโดยไม่ต้องมีการบังคับจำนำ นั้น ข้อตกลงเช่นนี้ย่อมไม่สมบูรณ์ไม่มีผลบังคับได้ กล่าวคือกฎหมายบังคับให้ต้องมีการบังคับจำนำด้วยวิธีการที่กล่าวมาแล้วเท่านั้น ผู้รับจำนำจะใช้สิทธิยึดเอาทรัพย์ที่จำนำหลุดเป็นของตนเองไม่ได้

กฎหมายได้กำหนดไว้แล้วว่าข้อตกลงดังกล่าวไม่สมบูรณ์ไม่มีผลบังคับ ดังนั้น แหวนดังกล่าวจึงยังเป็นกรรมสิทธิ์ของนาย ก. อยู่หาได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของนาย ข. ตามที่กล่าวอ้างไม่ นาย ข. จะต้องรับชำระหนี้และคืนแหวนให้แก่ นาย ก. ไป

เมื่อขายทอดตลาดได้เงินมาแล้วต้องดำเนินการอย่างไร

เมื่อขายทอดตลาดได้เงินสุทธิเท่าใด ผู้รับจำนำมีสิทธิหักเงินดังกล่าวเพื่อชำระหนี้คืนแก่ตนได้จนครบถ้วน หากมีเหลือเท่าใด ผู้รับจำนำต้องส่งคืนให้แก่ผู้จำนำไป

แต่ถ้าเงินที่ขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้คืนแล้ว เงินยังขาดอยู่เท่าใดผู้จำนำต้องใช้คืนให้แก่ผู้รับจำนำครบถ้วน

(ป.พ.พ. มาตรา 767)

ถ้าในระหว่างจำนำผู้รับจำนำส่งมอบทรัพย์ที่จำนำคืนให้แก่ผู้จำนำแล้วจะมีผลอย่างไร

ถ้าในระหว่างจำนำผู้รับจำนำส่งมอบทรัพย์สินที่จำนำคืนให้แก่ผู้จำนำแล้ว กฎหมายให้ถือว่าการจำนำนั้นระงับไป ผู้รับจำนำจะใช้สิทธิในการบังคับจำนำเอาทรัพย์นั้นอีกไม่ได้ คงทำได้แต่เพียงฟ้องร้องบังคับตามหนี้ที่ลูกหนี้เป็นหนี้ค้างชำระแก่ตนได้เท่านั้น

สิ่งที่น่าสนใจ

จำนองกับธนาคาร หรือ จำนองกับนายทุน ดีกว่ากัน?

จำนองกับธนาคาร หรือ จำนองกับนายทุน ดีกว่ากัน? จำนอง เป็นการกู้เงิน หรือขอสินเชื่อโดยมีหลักทรัพย์ประกัน จากธนาคารหรือสถาบันการเงิน หรือกู้เงินนอกระบบ กู้เงินจากเอกชน หรือนายทุน ก็ได้ ซึ่งการกู้เงินจากทั้งสองแบบนี้ต้องทำสัญญาที่ สำนักงานที่ดิน และมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน ขึ้นกับข้อตกลงของทั้ง 2 ฝ่าย เรามาดูกันดีกว่าว่าความแตกต่างของการจำนองกับสถาบันการเงิน และจำนองกับนายทุนนั้น ต่างกันอย่างไร และมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง     กรณีจำนองกับสถาบันการเงิน มีขั้นตอนที่แต่ละสถาบันการเงินกำหนดไว้

จำนอง กับ ขายฝาก ต่างกันอย่างไร

หลายท่านที่กำลังมีปัญหาเรื่องเงิน อาจจะกำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับการนำบ้าน ที่ดินไปออกเงินกู้ และคงเคยได้ยินคำว่า จำนอง ขายฝาก กันมาบ้างแล้ว แต่เชื่อได้เลยว่า บางท่านอาจจะยังแยกไม่ออกว่า จำนองกับขายฝากนั้น ต่างกันอย่างไร จำนอง คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่า ผู้จำนองเอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจำนองเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนองส่วน “ขายฝาก” คือสัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้ภายในเวลาที่กำหนดข้อแตกต่างที่สำคัญของสัญญาจำนองกับสัญญาขายฝาก    จำนอง กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่จำนองไม่โอนไปยังผู้รับจำนอง จึงไม่ต้องมีการส่งมอบทรัพย์ที่จำนองให้ผู้รับจำนอง แต่ “ขายฝาก”

ขั้นตอนการขายฝากที่ดิน

การขายฝากการขายฝากสามารถทำได้ โฉนดไม่ติดภาระ ส่วนโฉนดติดภาระธนาคาร โฉนดติดภาระบุคคล สามารถทำได้ โดยพิจารณา จากมลูค่าทรัพย์ ขั้นตอนการขายฝาก ไปดูที่ดิน หรือหลักทรัพย์ของลูกค้าที่ต้องการขายฝาก เมื่อตกลงราคาที่ต้องการเรียบร้อยแล้ว ไปทำสัญญาที่กรมที่ดิน เมื่อทำสัญญาที่กรมที่ดินเรียบร้อยแล้ว ลูกค้าจะ ได้รับเงินสดทันที ดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปีตามกฎหมาย หรือแล้วแต่ตกลง ลูกหนี้ต้อง จ่ายดอกเบี้ยทุกเดือนจนครบกำหนดไถ่ถอน พอครบสัญญา สามารถไปไถ่ถอนได้ที่กรมที่ดิน เอกสารที่ต้องใช้ โฉนดตัวจริง

การโอนหนี้ดีจริงหรือ?

คุณกำลังประสบปัญหา มีภาระหนี้เพิ่มสูงขึ้น ในแต่ละวันหรือเปล่า ไม่ว่าจะเป็นหนี้ บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อบุคคล ธนาคาร หรือสถาบันการเงินต่างๆ ดอกเบี้ยทบสูงขึ้นจนจ่ายไม่ไหวแล้วใช่หรือไม่ ดอกเบี้ยทบต้นทบดอกจนสูงกว่าเงินต้นจริงๆ แล้วใช่ไหมการโอนหนี้ หรือที่เรียกกันว่าการรีไฟแนนซ์คือทางออกของคุณแน่นอนค่ะ การโอนหนี้ดียังไง? ข้อควรระวังก่อนการทำการโอนหนี้ เมื่อคิดว่าภาระหนี้ที่มีตอนนี้คุณแบกรับไว้ไม่ไหว ควรรีบตื่นตัวแล้วหาช่องทางเพื่อปรับโครงสร้างหนี้โดยเร็ว ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นดินพอกหางหมู ไม่สามารถจัดการกับยอดหนี้ได้ ทำให้ประวัติทางการเงินของท่านเสียหายได้ด้วย เพราะฉะนั้นการโอนหนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทาง ที่อาจจะช่วยให้คุณแก้ปัญหาได้ ทำให้บางเบาลงได้ หากสนใจทำการโอนหนี้